สถานีรถไฟกันตัง

สถานีกันตัง

สถานีรถไฟกันตัง  :  เป็นสถานีรถไฟสุดทาง ของทางรถไฟสายใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งอยู่บนถนนหน้าค่ายตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2456 ตัวสถานีเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาลแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าอาคารมีมุขยื่นประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ ประตูบานเฟี้ยมแบบเก่าคงเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงามเป็นพิเศษปัจจุบันสถานีรถไฟกันตังได้รับประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร

สถานีรถไฟกันตังในอดีตถูกใช้เป็นที่รับส่งสินค้ากับต่างประเทศ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียมีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางประมาณ 500 เมตร จากตัวสถานีถึงท่าเทียบเรือกันตังซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ตั้งแต่โบราณ ปัจจุบันทางรถไฟส่วนนี้ถูกชาวบ้านรุกล้ำที่และไม่มีรางรถไฟส่วนนี้แล้ว
สถานีรถไฟกันตังมีความสำคัญมาตั้งแต่ครั้งอดีต มีความหมายยิ่งต่อวงการรถไฟไทยยุคแรก ๆ นั่นคือหัวรถจักรรุ่นต่าง ๆตลอดจนโบกี้รถไฟที่ผลิตในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรืออินเดีย โดยจะมาทางเรือและขึ้นเทียบท่าที่กันตัง ก่อนออกวิ่งบนรางรถไฟต่อมายังกรุงเทพฯอีกที
เมื่อเวลาผ่านไปเส้นทางในการส่งสินค้าแปรเปลี่ยนไปตามแหล่งผลิตเช่นการที่รถไฟหันไปสั่งหัวรถจักรมาจากญี่ปุ่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เส้นทางรถไฟฝั่งอันดามันที่ต่อเชื่อมไปยังท่าเรือกันตังถูกทิ้งร้างลงดังเช่นทุกวันนี้

ตัวสถานีรถไฟกันตังเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองมัสตาร์ดสลับน้ำตาลอันเป็นคู่สีหลักที่คุ้นตาของอาคารรถไฟทั่วไป ตัวอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนตัวอาคารและชานชาลา ด้านหน้าของอาคารมีมุข ยื่น มีการตกแต่งประดับมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุ

ส่วนตัวอาคารที่ทำเป็นห้องมีผนังไม้ตีตามตั้งโชว์แนวเคร่า พร้อมช่องลมระแนงไม้ตีทแยงบานประตูหน้าต่างไม้แบบเก่า ส่วนที่เป็นโถงมีรั้วลูกกรงไม้พร้อมบานประตูขนาดเล็กกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนส่วนด้านหลังอาคารเป็นชานชาลามีหลังคาจั่วคลุมแยกต่างหาก โดยเสารับหลังคาชานชาลานี้มีค้ำยันไม้ฉลุตกแต่งให้กลมกลืนกับตัวอาคาร
ภายในสถานียังพอมีข้าวของเครื่องใช้ในอดีตคงเหลืออยู่บ้างโดยภาพรวมแล้วยังรักษาเอกลักษณ์เดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ไว้ได้เป็นอย่างดีนับเป็นสถานีรถไฟที่มีความสวยงามเป็นพิเศษ จากสถานะที่มีความสำคัญต่อกิจการรถไฟดังที่กล่าวมาซึ่งเป็นผลทำให้ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของจังหวัดตรังจากกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2539
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2456 ที่สถานีรถไฟกันตัง เปิดทำการเดินรถเป็นครั้งแรก ต้นทางจากสถานีกันตัง ปลายทางสถานีห้วยยอด นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 100 ปีแล้วที่ สถานีรถไฟกันตัง เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ช่วยบอกเล่าความเป็นมาอันเก่าแก่ของเมืองกันตัง ที่เป็นเมืองท่าขนส่งสินค้า รวมถึงเครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆในอดีตที่นำเข้าจากต่างประเทศผ่านทาง สิงคโปร์ มาขึ้นท่าที่เมืองกันตังก่อนส่งต่อไปยังอำเภอทุ่งสง ชุมทางรถไฟสำคัญของภาคใต้ ทำให้การเดินทางและการขนส่งพัสดุภัณฑ์ต่างๆทางเรือจากภูเก็ต พังงา กระบี่ สตูล และปีนัง จะเข้ามารับส่งผู้โดยสารและสินค้าที่ท่าเรือกันตัง แล้วโดยสารรถไฟต่อไปยังที่อื่นๆ

เส้นทางรถไฟจากสถานีกันตังจึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตกของไทย และถือเป็นสถานีสุดท้ายปลายทางเส้นทางรถไฟฝั่งตะวันตก สถานีรถไฟจึงถือได้ว่าเป็น สุดเส้นทางรถไฟสายอันดามัน ในปัจจุบันพื้นที่ในบริเวณสถานีรถไฟยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็น วัตถุ และสิ่งก่อสร้าง ที่ช่วยบอกเล่าความเป็นมาอันเก่าแก่ของสถานีรถไฟกันตังเช่น ที่กลับกลับหัวรถจักรแบบหมุนได้ (สำหรับกลับหัวรถจักรไอน้ำ) บ่อน้ำ หอถังเก็บน้ำเหล็ก รวมทั้ง แนวคานคอนกรีตโครงสร้างของโรงงานประกอบและซ่อมหัวรถจักร
การรถไฟแห่งประเทศไทยและเทศบาลเมืองกันตัง ได้ปรับปรุงสถานีรถไฟกันตัง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จัดทำห้องสมุดรถไฟ ที่เปิดบริการให้เด็ก ๆ มาใช้เป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากในห้องเรียน โดยห้องสมุดนี้นำตู้รถไฟเก่ามาต่อเติมดัดแปลงให้เหมาะสม บรรยากาศเงียบสงบ ร่มรื่นเหมาะแก่การมาอ่านหนังสือจริง ๆ จัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมได้รับสิ่งดีๆมีคุณค่าจากสถานีรถไฟเก่าแก่แห่งนี้ และเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวเมืองกันตังสืบต่อไป

สถานีรัก

สถานีกันตัง

และสถานีกันตังแห่งนี้ก็มีร้านกาแฟที่มีชื่อเสียง ชื่อว่า “LOVE STATION” หรือ “สถานีรัก” ทีแรกมองไปอาจคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของสถานีกันตัง เพราะมีการตกแต่งที่งดงามคล้ายคลึงกันมาก ตัวร้านตกแต่งด้วยสีเหลืองออกแนววินเทจ ๆ หน่อย ด้านที่ติดฝั่งถนนจะมีสวนดอกไม้เล็ก ๆ บนผนังก็นำเอาจักรยานโบราณทั้งคันไปแขวนเอาไว้ มีที่นั่งด้านหน้าสำหรับนั่งชิว ๆ ส่วนด้านในแบ่งเป็น 2 ส่วนคือส่วนเคาน์เตอร์สำหรับสั่งกาแฟซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ กับส่วนที่นั่งทาน ซึ่งเหมือนแบ่งเป็นอีกห้องนึง มีของเก่า ๆ ประดับประดาเป็นจำนวนมาก เหมาะสำหรับการถ่ายสุดๆค่ะ  ส่วนเมนูเครื่องดื่มที่นี่ ที่อยากแนะนำว่าห้ามพลาด คือนำมะม่วงเบาปั่น โดยเจ้ามะม่วงเบานี้เป็นพันธุ์ที่ปลูกกันมากและโดดเด่นที่สุดของจังหวัดตรังด้วย ราคา 40-50 บาท ได้นั่งชิมกาแฟอร่อย ๆ กับบรรยากาศเพลิน ๆ ให้ได้หายเหนื่อยจากการเที่ยวชม และถ่ายรูปที่สถานีรถไฟกันตัง ก็ถือว่าคุ้มมากๆแล้วละค่ะ

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

ไม่ไกลกันนั้น มีพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สถานที่อีกแห่งที่เต็มไปด้วยประวัติศาตร์เก่าแก่ของตรัง และรวบรวมเรื่องราวในอดีตเอาไว้มากมาย ตั้งอยู่บัวถนนหน้าค่าย อยู่ห่างจากเทศบาลกันตังประมาณ 200 เมตร เรียกอีกชื่อว่า “จวนเก่าเจ้าเมืองตรัง” หรือบ้านพักอดีตเจ้าเมืองตรัง ลักษณะของบ้านเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของท่านอย่างครบถ้วน โดยทายาทตระกูล ณ ระนอง เป็นผู้ดูแลรักษา ชาวกันตังและเทศบาลเมืองกันตัง เห็นว่าบ้านหลังนี้คือหลักฐานสำคัญทาง ประวัติศาสตร์ที่ควรรักษาไว้คู่เมืองตรัง จึงคิดจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงชีวิต และผลงานของพระยารัษฎาฯ ให้ชาวตรังได้ศึกษาจดจำ โดยได้ขออนุญาตใช้เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงคุณูปการของพระยารัษฎาฯ ขอใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อ 10 กันยายน 2535 ใช้นามว่า พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)

รายการทัวร์แบบเดย์ทริป ที่รวมสถานที่รถไฟกันตัง

Leave a Reply

เพิ่มเพื่อน


ขั้นตอนการจองทัวร์กับเรา

  • 1. คลิกจองทัวร์ และกรอกข้อมูล
  • 2. รออีเมล์ยืนยันผลการจอง
  • 3. ชำระเงินตามเงื่อนไข
  • 4. รับเวาเชอร์เดินทางได้เลย

ทัวร์ที่คุณชมล่าสุด

ความเห็นล่าสุด

บริษัท นาวา ซัน จำกัด

บริษัททัวร์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เลขที่ 32/00755

305/5 ถนนมหาราช ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง กระบี่ 81000 | โทร.075-631501 แฟกซ์ 075-632292

ติดต่อบริษัททัวร์
เปิดให้บริการเวลา 08.00 – 20.00 น. (ทุกวัน)

089-6509110

We are using cookies to give you the best experience. You can find out more about which cookies we are using or switch them off in privacy settings.
AcceptPrivacy Settings

GDPR

  • คุกกี้มั้ย?

คุกกี้มั้ย?

เราใช้คุ๊กกี้นะ เคมั้ย?